วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวทางหลักการของ วอเร็น บัฟเฟ็ตต์

จุดนี้น่าสนใจมากๆ

แนวทางหลักการของ วอเร็น บัฟเฟ็ตต์

โดยทฤษฎีของ บัฟเฟ็ตต์ นั่นจะลงทุนโดยแนวคิด พื้นฐาน วินัย ความอดทน เป็นทฤษฎี ค่อยๆรวย โดยลงแบบผู้รอบรู้ หลักสูตรรวยทางลัดไม่มี มักจะกลายเป็นหลักสูตรจนทางลัดแทน
โดย เราจะนำแนวคิดของบัฟเฟ็ตต์มาประยุกต์ใช้ทาง Technical Analysis ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนแบบ speculate (เก็งกำไร เล่นสั้น) นักลงทุนระยะกลาง ระยะยาว ใช้ได้หมด

1. เลือกความเรียบง่ายมากกว่าความซับซ้อน
2. ฝึกความอดทน (รอจังหวะที่ดี อย่ารีบ)
3. มีสติและควบคุมอารมณ์ได้
4. คิดอย่างอิสระ
5. ไม่สนใจ ไม่วอกแวกจากภาพรวมภายนอก
6. ไม่ลงทุนด้วยสัญชาตญาณ (คิดเอง เดาเองหรือเสี่ยงเล่นดู )
7. ฝึกการอยู่นิ่งๆ ไม่ซื้อขายมากเกินไป
8. เป็นนักฉวยโอกาสเมื่อตลาดมีสภาวะสดใส ชัดเจน
9. อย่าตีบอลทุกลูกที่ขว้างมา (อย่าเข้าๆออกๆบ่อยเกินไป)
10. จงอยู่ในขอบเขตความรู้ของคุณ (มีความรู้แบบไหนก็ใช้วิธีเล่นแบบที่คุณรู้ )
11. จงตื่นกลัวเมื่อคนอื่นกำลังโลภและจงโลภเมื่อคนอื่นกำลังตื่นกลัว
12. อ่านและอ่านให้มากแล้วคิดให้ดี
13. อย่าทำพลาดแล้วเรียนรู้จากความผิดความของผู้อื่น
14. ก้าวสู้การเป็นนักลงทุนผู้รอบรู้และ ฝึกที่จะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง

...เดี๋ยวมาดูกันว่า วางแผนเป็น มีหลักการคิดที่ดี มีกลยุทธ์ที่ดี โดยประยุกต์ใช้แนวทางบัฟเฟตต์มาใช้ทาง Technical Analysis....

ลงทุนโดยใช้ Technical Analysis

ลงทุนด้วยความเรียบง่าย ชัดเจน อย่าพยายามหาคำตอบที่ซับซ้อน มองกราฟแบบง่ายๆ มองกราฟให้ออกก่อน แบบที่เราเข้าใจ มีแนวโน้ม ไม่ซับซ้อนเกินไป มองแนวรับ แนวต้านที่ชัดเจน(แข็งแกร่ง)

"เมื่อมองกราฟ แล้วคุณเข้าใจ"

------------------------------------------------------------------------

อย่าพยายามหาคำตอบที่ซับซ้อน
บัฟเฟตต์ให้แนวคิดค้นแนวทางสู่ความสำเร็จโดยลงทุนหุ้นที่ไม่ซับซ้อนโดยที่ตัวเขาเองไม่สามารถเข้าใจได้ หลักการที่
บัฟเฟตต์เรียนรู้จาก เบนจามิน เกรแฮม อาจารย์ของเขา คือ คุณไม่จำเป็นต้องทำเรื่องยากๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเยียม” “ทำให้ง่ายๆคือเป้าหมายของคุณ” นี่คือแก่นแท้ของปรัชญาการลงทุนแบบ บัฟเฟตต์ หลักการง่ายๆนี้แสดงให้เห็นถึง
ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่

"ถ้าคุณไม่เข้าใจ มองกราฟไม่ออก อย่าเข้าซื้อ-ขายเด็ดขาด"
ดูตามรูปครับ 1 และ 1.1----->ลงทุนด้วยความเรียบง่าย ชัดเจน อย่าพยายามหาคำตอบที่ซับซ้อน
2,2.1,2-2---->อย่าพยายามหาคำตอบที่ซับซ้อน (ควรอดทนรอและอยู่นิ่งๆ)














จงตัดสินใจลงทุนด้วยตัวคุณเองและมีสติตลอดเวลา

บัฟเฟฟต์ แนะนำว่า ปล่อยให้คนอื่นๆตื่นตระหนกไปกับตลาดแล้วเมื่อมันสงบคุณจะได้ประโยชน์จากมัน
ควรเป็นนักลงทุนผู้รอบรู้ มีสติที่ดี คุณต้องควบคุมอารมณ์ได้ตลอดเวลา การมีสติที่ดียังหมายถึง ควบคุมจิตใจเมื่อต้องรับมือกับสภาวะต่างๆในตลาด สติ ดีที่ยังหมายถึง การมีวินัย คุณจะทำอย่างไรถ้าตลาดไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ และคุณจะทำอย่างไรเมื่อเป็นตลาดกระทิงหรือตลาดหมีเต็มตัว
ควรระวังสติของตัวเองในด้านความโลภและความกลัว
ควรเปลี่ยนความกลัวเป็นความกล้า กล้าที่จะซื้อ-ขาย(เมื่อมองเห็นสัญญาณ)กล้าที่จะยอมตัดขาดทุนให้ไว (เมื่อรู้ว่าผิดทาง มีการกลับตัวของทิศทาง) ควรตัดความโลภภายในใจตัวเอง


เบนจามิน เกรแฮม อาจารย์ของบัฟเฟตต์ เคยพูดว่า ปัญหาใหญ่และศัตรูตัวร้ายของนักลงทุนก็คือตัวเขาเอง อย่าตื่นตกใจในความสับสนของตลาด อย่าปาเป้าโดยการซื้อ-ขาย บ่อยๆและตลอดเวลา
(จากการวิจัยพบว่า ยิ่งซื้อ-ขายมากเท่าใดโอกาสขาดทุนก็มากเท่านั่น)
รู้จักตัวเองและตัดสินด้วยตัวคุณเอง คุณต้องมีวินัยและความอดทน ทำการบ้านของคุณและคิดให้รอบคอบเพื่อตัวคุณเอง


บัฟเฟตต์พูดว่า ความสำเร็จในตลาดหุ้นนั้น คุณต้องการเพียงแค่สติปัญญาธรรมดาๆ และต้องการความสามารถในการควบคุมอารมณ์และจิตใจ ถ้าคุณสามารถใจเย็นอยู่ได้ในขณะที่คนอื่นๆรอบข้างกำลังตกใจคุณก็เป็นต่อในการลงทุน

จงอดทน
บัฟเฟตต์เรียนรู้อย่างรวดเร็วว่า การลงทุน ต้องมีความอดทน
ความ อดทนไม่ใช้เรื่องง่ายๆแต่เป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งของการควบคุมอารมณ์ในการ ลงทุน (เมื่อรู้กราฟเป็น sideway เลี่ยงโดยการปิดโปรแกรมแล้วหาอย่างอื่นทำดีกว่า) อย่าปล่อยให้ความอยากเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการอดทนรอในช่วงที่ไม่น่าเข้าเทรด

เมื่อ ซื้อ-ขายจงใจเย็นและไม่หลงระเริงไปกับความฟุ่มเฟือยที่ไม่เหมาะสมและตกอยู่ในอำนาจของความกลัวเพราะถ้าแนวโน้ม ขึ้นก็มักจะขึ้นต่อไป แต่จงอย่าโลภเมื่อมีสัญญาณกลับตัวให้เห็น(ออกให้เร็ว) มีวินัยเมื่อระบบเปลี่ยนทิศทาง

เบนจามิน เกรแฮม เคยกล่าวในหนังสือ “The Intelligent Investor” ว่าเราได้เห็นเงินจำนวนมากตกเป็นของคนธรรมดาๆที่ รู้จักการควบคุมสติให้เหมาะสมกับขบวนการลงทุนของพวกเขา มากกว่าพวกที่มีความรู้ด้านการเงินการบัญชีและผู้เชี่ยวชาญที่ขาดความอดทน

จงซื้อ-ขายต่อเมื่อคุณมั่นใจและแน่ใจแล้วเท่านั่น ถ้ายังไม่มั่นใจควรอยู่นิ่งๆก่อน อย่ามองและเช็คกราฟตลอดเวลา(รอจังหวะให้เป็น)
---------------------------------
Ex.รูป1 การเทรดไม่จำเป็นต้องเข้าๆออกๆ บ่อยครั้งในหนึ่งวัน
รูป2 คุณต้องมีวินัยและความอดทน ทำการบ้านของคุณและคิดให้รอบคอบเพื่อตัวคุณเอง


วางแผน จดบันทึก และลากวาดเส้นลงบนกราฟ นำหลักการของ John Murphy มาต่อยอด

1 มองหาแนวโน้ม
ใน กราฟมีแค่ 3 แบบ ขาขึ้น ขาลง ด้านข้าง ใช้กราฟวิเคราะห์ราคาจากระยะยาวเมื่อมองภาพใหญ่จะเห็นว่าตลาดเป็นรูปแบบไหน ทำอะไรอยู่และจะมองภาพรวมตลาดได้ง่ายขึ้น

เมื่อมองภาพระยะยาว(กราฟวัน สัปดาห์ เดือน)แล้วจึงค่อยมามองภาพระยะสั้น(ระหว่างวัน) การไปดูกราฟระยะสั้นๆก่อนมักจะทำให้มองผิดพลาดได้ง่ายกว่า(เกิดการหลอก ของกราฟ)เพราะแนวโน้มกราฟมักจะเดินทางตามกราฟระยะยาวเสมอๆ ดังนั่นถ้าคุณเป็นนักเทรดระยะสั้น วันต่อวัน นักเก็งกำไร คุณควร ซื้อ-ขาย ตามแนวโน้มระยะกลาง และระยะยาว


2 เดินทางไปกับแนวโน้มนั่นๆที่เกิดขึ้น
พิจารณาแนวโน้มที่เกิดขึ้นว่าเป็นแบบไหนเมื่อรู้แล้วจึงเดินตามแนวโน้มทางนั้น
แนว โน้มของตลาดจะมีทั้ง ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว คุณต้องรู้ก่อนว่าคุณเป็นนักลงทุนประเภทไหน สั้น กลาง ยาว แล้วจึงเลือกกราฟให้เหมาะสม เมื่อถึงเวลาเทรดให้เทรดไปตามทิศทางแนวโน้มตามระยะเวลาที่คุณเลือก

''สำคัญ'' ซื้อเมื่อตอนที่ราคาลดต่ำลงมา(ลงมาปรับฐาน พักตัว ทำแนวรับ)ในแนวโน้มของเทรนขาขึ้น
ขายเมื่อตอนที่ราคาดีดตัวขึ้นไป(ขึ้นมาปรับฐาน พักตัว ทำแนวต้าน)ในแนวโน้มของเทรนขาลง
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนระยะกลางให้ใช้กราฟรายวัน รายสัปดาห์


ถ้าคุณเป็นนักลงทุน ซื้อ- ขายภายในวันเดียว ใช้กราฟวันและระหว่างวัน
อย่าง ไรก็ตามจะเลือกเทรดแบบไหน เราต้องดูกราฟที่ระยะยาวกว่าเพื่อดูแนวโน้มก่อน แล้วจึงใช้กราฟระยะเวลาที่เราต้องการเทรดสำหรับการซื้อ-ขาย

ดูตัวอย่างรูป ของการมองหาแนวโน้มจากระยะยาว เพื่อไปเทรดระยะสั้น
รูป 1 (รูปกราฟ1dมองว่าเกิดอะไรอยู่) 2 (รูป4hว่าเกิดอะไรอยู่) 3 (รูป15เพื่อหาจังหวะเทรด) จากเวลา เดียวกัน และตัวอย่าง ซื้อที่แนวรับ ขายที่แนวต้านของการเดินทางแนวโน้มที่เกิดขึ้น รูป4 ของขาขึ้น รูป5 ของขาลง













3 หาจุดต่ำสุดของราคาและจุดสูงสุดของราคา
รู้จุดต่ำสุด คือ แนวรับ จุดสูงสุด คือ แนวต้าน หาให้เจอ(แล้วขีดไว้กันลืม)
หาแนวรับและแนวต้าน
ตำแหน่งที่ดีที่สุดคือ ซื้อที่แนวรับ(ใกล้ๆแนวรับ) ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น
ตำแหน่งที่ดีที่สุดคือ ขายที่แนวต้าน(ใกล้ๆแนวต้าน) ในช่วงแนวโน้มขาลง

เมื่อ ราคาทำยอดสูงใหม่กว่าจากนั้นจะกลับมาเป็น(แนวรับ) เมื่อราคาวกกลับลงมาหรือเรียกว่า สูงเก่ากลายเป็นจุดต่ำใหม่ (ของแนวโน้มขาขึ้น)
เมื่อราคาทะลุจุดต่ำสุดจากนั้นจะดีดกลับมาเป็น(แนวต้าน) เมื่อราคาดีดตัวขึ้นไป เรียกว่า ต่ำเก่ากลายเป็นจุดสูงใหม่ (ของแนวโน้มขาลง)
ดูตัวอย่างรูป ขาขึ้น และ ขาลง

------------------------------------------------------------------------------------------------------

4 การปรับฐาน ราคาจะปรับฐานลึกแค่ไหน
การขึ้นก็ขึ้นเป็นรอบ ในรอบการขึ้นก็ต้องมีการปรับฐานเพื่อขึ้นต่อ
การลงก็จะลงเป็นรอบ ในรอบการลงก็ต้องมีการปรับฐานเพื่อลงต่อ
รอบการขึ้น รอบการลงมีการปรับฐานเหมือน คลื่น
เราสามารถวัดการปรับตัวที่เกิดขึ้นได้ในสัดส่วนง่ายๆ
การปรับตัวที่ระดับ 50% ของแนวโน้มก่อนหน้าเป็นสิ่งที่พบเห็นบ่อยที่สุด
สัดส่วนที่น้อยที่สุดมักจะเป็นหนึ่งในสามของแนวโน้มก่อนหน้า(33.38%) ของการปรับตัวและมากที่สุดสองในสาม(66.66%)

สำหรับการปรับตัวตามตัวเลข Fibonacci คือ 38% และ 62%เป็นตัวเลขที่สำคัญของการปรับฐานหรือปรับตัวของราคา
เมื่อ เกิดแนวโน้มขาขึ้นหากจะซื้อควรรอการปรับฐานโดยดูตามระดับตัวเลข Fibonacci ที่สำคัญๆเพราะมักจะเป็น แนวรับที่สำคัญ เพื่อลงมาสะสมแรงแล้วไปต่อ
ดูตัวอย่างรูป เตรียมลาก และ fibo@ จังหวะแรก fibo@2จังหวะที่สองของแนวโน้ม fibo@3จังหวะที่สามของแนวโน้ม

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
5 ลากเส้น(แนวโน้ม)
ลากเส้นแนวโน้ม เส้นแนวโน้มเป็นการมองและลากง่ายๆแต่ได้ผล สิ่งที่ต้องทำก็แค่ลากเส้นแนวโน้ม
ขาขึ้นของการลากก็จะมีการพักตัวในเส้นที่ลากแล้วขึ้นต่อ
ขาลงของการลากก็จะมีการพักตัวในเส้นที่ลากแล้วลงต่อ
จนกว่าจะมีการทะลุเส้นแนวโน้มนั่นๆได้มักจะเกิดสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มนั่นๆ
เส้น ที่ดีควรมีการแตะของราคาอย่างน้อยถึงสามครั้ง(ไม่ทะลุหลุดเส้น) เส้นยิ่งยาวยิ่งดีบอกแนวโน้มนั่นแข็งแรง(ลากแล้วหลุดเร็วแสดงเส้นสั้น)
และยิ่งถูกทดสอบโดยการแตะที่เส้นมากเท่าไหร่(เหมือนสะสมแรง)ยิ่งเป็นนัยสำคัญที่ต้องพิจารณา

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

6 ใช้เส้นค่าเฉลี่ย
เส้นค่าเฉลี่ยจะให้สัญญาณในการซื้อ ขาย บอกถึงแนวโน้มขณะนั้นยังเกิดขึ้นอยู่หรือว่าเปลื่อนแล้ว
เส้นค่าเฉลี่ยไม่ได้บอกแนวโน้มอนาคตว่าราคาจะไปทางไหนแต่ก็สามารถบอกถึงการเปลื่อนแนวโน้มได้ดีมากๆ
การใช้เส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้นเป็นที่นิยมในการหาสัญญาณซื้อ-ขาย ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เส้น 4และ9วัน 9และ18วัน หรือ 5และ20วันเป็นต้น
สัญญาณจะเกิดขึ้นเมื่อตัดกันขึ้นซื้อ ตัดกันลงมาขาย
การใช้เส้นค่าเฉลี่ย40วันเพื่อหาจุดซื้อ-ขายก็เป็นสัญญาณที่ดีอีกตัวหนึ่ง
และเนื่องจากเส้นค่าเฉลี่ยเป็นตัวหาแนวโน้ม ดังนั้นจะใช้ได้ดีก็ต่อเมื่อตลาดมีแนวโน้มชัดเจน
ตัวอย่างรูป เส้นค่าเฉลี่ย 40 วัน (sma40)














สามารถลากจากไหนก็ได้ชอบแบบที่ราคาเปิดปิด หรือ ชอบลากแบบใส้เทียน ใช้แบบไหนก็ได้ครับฝึกดูไปเรื่อยๆครับ แต่เมื่อหลุดแล้วไม่เป็นไปตามทิศทางที่เรามองมีทางเดียวเลยครับ ยอมตัดขาดทุนแล้วเริ่มครั้งใหม่ ไม่มีระบบไหนถูกทุกครั้งครับ ทุกระบบถูกเลือกมาให้ถูกมากกว่าผิด แต่ระบบทุกระบบก็ต้องการทำตามอย่างมีวินัยสูงด้วยเช่นกัน การมีวินัยจะช่วยให้การเสียหายขาดทุนน้อย แต่ถูกทางจะกำไรมากเสมอๆครับไม่เชื่อลองมีวินัยดูครับ....

ข้อสอง ระยะสั้น มีตัวpivot ที่ใช้ดูระยะ 15m ใช้ได้ดีในการเล่นหนึ่งวัน ส่วนระยะกลาง ระยะยาว ต้องลากมือเพื่อหาเป้าหมายหรือจะดูจาก แนวรับ แนวต้าน อดีตว่าเคยขึ้น ลงไปที่จุดไหนและอนาคตมักจะวิ่งที่พักตัวที่ระดับจุดที่อดีตเคยขึ้นมาถึง ลงมาถึงเช่นกันครับ

ข้อสาม ส่วนใหญ่น่ะครับ พอมีแนวโน้มขึ้นหมดรอบขึ้นแล้วมักจะเกิดคลอเคลีย(sideway)หรือพักตัวก่อน เสมอแล้วมีแนวโน้มครั้งต่อไป เปรียบ เสมือนการวิ่งครับเมื่อเราวิ่งมานานเราเหนื่อยเราก็ต้องพักก่อน เมื่อพักเราก็หายเหนื่อย(สะสมแีรงนั่นเอง) พอหายเหนื่อยเราจึงวิ่งต่อ สรุปแล้วเกิดแนวโน้มครบหนึ่งรอบแล้วพักเพื่อสะสมแรงแล้วจึงวิ่งครั้งต่อไป ครับ ราคาการขึ้นลงของกราฟก็มีอารมณ์และความรู้สึกเหมือนเป็นสิ่งมีชีวิตเช่น เดียวกันครับ เป็นไปตามธรรมชาติทั้งนั่นครับ ขยันมอง ขยันสังเกตุและขยันมีวินัยครับ เดี๋ยวก็เก่งครับ

เอารูปแบบต่างๆมาฝากจำไม่ได้แล้วเอามาจากเว็บไหน..


ฝึกให้ทานจนเป็นนิสัย ความโลภจากกำไรและควมโลภของการไม่กล้า stop loss จะหายไปเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น