วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Order คืออะไร

order หมายถึง การที่คุณจะทำการตัดสินใจส่งหรือออก position ในตลาด เราจะพูดถึงความ แตกต่าง ของออร์เดอร์แต่ละชนิด ที่สามารถ ส่งในตลาดค่าเงินนี้ได้ ออร์เดอร์ประเภทไหนที่โบรคเกอร์ สามารถ ยอมรับคำสั่งนั้นได้ ความแตกต่างของโบรคเกอร์ จะรับออร์เดอร์ที่แตกต่างกันไป


ชนิดของออร์เดอร์

ประเภทของออร์เดอร์พื้นฐาน
– มีออร์เดอร์พื้นฐานที่ทุก ๆ โบรกเกอร์มีให้ใช้ และบางออร์เดอร์ที่อาจจะฟังดูแปลก ๆ แต่ที่เป็นพื้นฐานจริง ๆ คือ:

Market order

Market order เป็นออร์เดอร์ที่ใช้ในการสั่ง Buy หรือ Sell ที่ราคาตลาด ณ ปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น EUR/USD ราคา ปัจจุบัน อยู่ที่ 1.2140 ถ้าต้องการ Buy ที่ราคานี้ ต้องคลิ๊ก Buy และโปรแกรมเทรด จะทำการส่งออร์เดอร์ที่ราคานั้น (ถ้าคุณเคยซื้อของใน Amazon.com เหมือนกับการใช้ 1-Click ออร์เดอร์ อย่างนั้น) ถ้าอยากได้ราคาปัจจุบัน ตอนนั้น ก็คลิ๊กหนึ่งครั้ง แล้วมันก็จะกลายเป็นของคุณ แต่สิ่งที่แตกต่างจาการซื้อหรือขายธรรมดา ในตลาดค่าเงิน คือ คุณจะได้ อีกค่าเงินหนึ่งมา (แทนที่คุณจะได้ CD ถ้าคุณซื้อ CD ของ บริทนีย์ สเปียร์)


Limit order

Limit order คือออร์เดอร์ที่ส่งเพื่อ Buy หรือ Sell ในราคาใดราคาหนึ่งที่กำหนดไว้ จะงมีสองตัวแปร คือ เวลา กับ ราคา ตัวอย่างเช่น EUR/USD ปัจจุบันเทรดอยู่ที่ราคา 1.2050 ต้องการที่จะส่งคำสั่ง Buy ถ้าราคามันถึง 1.2070 คุณสามารถ นั่งเฝ้าหน้าจอและรอให้มันถึงราคา 1.2070 (คือจุดที่คุณอยากส่งคำสั่ง buy แบบ Market order) หรือ ส่งคำสั่ง Buy limit order ที่ 1.2070 (ไม่ต้องนั่งเฝ้า คอมพิวเตอร์จะจัดการให้เสร็จสรรพ ถ้าราคามันมาถึงจุดนั้น) ถ้าราคามันขึ้นไปถึง 1.2070 โปรแกรมเทรด จะทำการส่งคำสั่ง Buy อัตโนมัติ ตามราคาที่ได้กำหนดไว้ สามารถ กำหนดราคาว่าจะ Buy หรือ Sell ในค่าเงินนั้น ๆ หรือแม้แต่ กำหนดว่า อยากให้ Limit Order นี้ อยู่ได้นานเท่าไร หลังจากส่งคำสั่ง (GTC หรือ GFD)


Stop-loss ( S-L)

order stop - loss order เป็น limit order ที่ใส่เข้าไปหลังจากที่เราเปิดออร์เดอร์เทรดแล้ว จุดประสงค์เพื่อที่จะ ป้องกัน การขาดทุน ถ้าราคาเคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้าม Stop loss order จะมีผลจนกระทั่งออร์เดอร์นั้น ถูกปิดไปแล้ว หรือ ผู้ส่งคำสั่งยกเลิกออร์เดอร์ Stop loss ตัวอย่างเช่น ต้องการ Buy EUR/USD ที่ราคา 1.2230 เพื่อไม่ให้เกิดการ ขาดทุนมากเกินไป จึงตั้ง Stoploss ที่ราคา 1.2200 โปรแกรมเทรดของคุณ จะทำการปิด ออร์เดอร์นั้น ที่ราคา 1.2200 อัตโนมัติ พร้อมกับผลขาดทุน 30 จุด(อูยยยย) Stop loss มีประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้าไม่อยากนั่งเฝ้าหน้าจอตลอดทั้งวัน แล้วกลัวว่าขาดทุน แค่ตั้ง Stop loss order ขึ้นมาใน position ที่เปิด คุณจะมีเวลาไปทำอย่างอื่นได้


ออร์เดอร์ ชื่อแปลก ๆ

GTC (Good 'til canceled)

A GTC order จะมีผลในตลาดจนกระทั่งคุณยกเลิกด้วยตัวเอง โบรกเกอร์จะไม่สามารถยกเลิกมันได้ ดังนั้น ต้อง ระลึก เสมอว่าคุณมีออร์เดอร์อยู่ในมือรึเปล่า


GFD (Good for the day)

A GFD order จะมีผลในตลาดจนกว่าจบวันที่ทำการเทรด เพราะ ตลาดฟอร์เร็กซ์เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ปกติจะใช้ เวลา 5 โมงเย็นของสหรัฐฯ เป็นตัววัด(ตี 4 ของเมืองไทย) แนะนำให้เช็คกับโบรกเกอร์ให้ละเอียดอีกที เรื่องเวลา


OCO (Order cancels other)

An OCO order เป็นออร์เดอร์ที่รวม limit and / or stop-loss order ไว้ด้วยกัน คือตัวแปรทางราคา และ เวลา จะถูกส่งเข้าไป ที่ราคาสูงกว่า หรือ ราคาที่ต่ำกว่า ราคาปัจจุบันทั้งสองอัน เมื่อออร์เดอร์หนึ่งถูกส่งไปแล้ว อีก ออร์เดอร์ จะถูกยกเลิก ตัวอย่างเช่น ราคาของ EUR/USD อยู่ที่ 1.2040 เมื่อคุณต้องการซื้อที่ 1.2095 เหนือ แนวต้านขึ้นไป ซึ่งอาจจะไปทำ new high และถ้าร่วงลงมาจนเกิน 1.1985 คุณจะเข้า sell order นั่นคือ ถ้ามัน ไปถึงราคา 1.2095 คุณจะส่งออร์เดอร์ buy ออร์เดอร์ sell ที่คุณตั้งจะส่งไว้ที่ 1.1985 จะถูกยกเลิก

จำไว้ว่า ควรตรวจสอบกับโบรกเกอร์ ให้ละเอียดอีกครั้ง บางทีอาจจะมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพิ่มเติมถ้าถือ position ข้ามคืน พยายามทำกฏในการเทรดให้ง่ายเข้าไว้ สิ่งที่ธรรมดาที่สุดย่อมทำให้เข้าใจง่ายที่สุด


สรุป

คำสั่งพื้นฐาน (market, stop loss, และ limit) ซึ่งเป็นออร์เดอร์ที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ต้องใช้ แม้ว่า จะเป็นนักเทรด ที่เก่งกาจ (ใช่ แน่นอน) อย่าพึ่งไปสนใจกับระบเทรด Trading System ที่ดูซับซ้อน หรือมีเครื่องมือสวยงาม คุณ ไม่จำเป็นต้องทำกำไรได้ก้อนใหญ่ในตลาดทุกครั้งไป ให้คุณมุ่งออกแบบระบบที่ง่าย ๆ ธรรมดาของตัวเองก่อน

ต้องแน่ใจแล้วว่า คุณมีความรู้เกี่ยวระบบการเทรด หรือวิธีการส่งคำสั่งของโบรคเกอร์ให้ดีก่อนที่จะเทรด อย่ารีบ เทรดเงินจริง จนกว่าจะเข้าใจหน้าตา หรือคำสั่งของโปรแกรมที่ต้องใช้ในการส่งคำสั่งเทรด

สมัคร AGEA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น