วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

pip - Lot - leverage - Margin Call คืออะไร

ทำความรู้จักกับ P และ L

จากตรงนี้ ต้องใช้ความสามารถทางคณิตศาสตร์นิดหน่อย บางที คุณอาจจะ เคยได้ยินมาบ้างแล้ว กับคำว่า Pip และ Lot ก่อนหน้านี้ และตอนนี้ เราจะมาอธิบายว่ามันคืออะไร และมีวิธีคิดอย่างไร

คุณต้องใส่ใจกับมันหน่อย เพราะว่ามันเป็นความรู้ ที่นักเทรดฟอร์เร็กซ์ ทุกคนควรจะรู้ อย่าคิดเรื่องเทรด จนกว่าคุณ จะรู้สึกว่า คุณเข้าใจว่า pip และการคำนวณกำไรขาดทุน


pip คืออะไร ?

การเพิ่มขึ้น หรือลดลง ของค่าเงิน เรียกว่า pip

ถ้า EUR/USD เคลื่อนไหวจากราคา 1.2250 ไปที่ราคา 1.2251 เรียกว่า 1 pip ซึ่ง 1 Pip คือ ตัวเลขทศนิยมตัว สุดท้ายของค่าเงิน จากตัวทศนิยมสี่ตัว (ซึ่งบางครั้งก็ก็อาจจะมีถึงห้าจุด ซึ่งบ่งบอกถึงจำนวน pip เหมือนกัน) ซึ่งเราสามารถใช้ Pip ในการประมาณผลกำไรขาดทุนได้ แต่ละค่าเงิน มีมูลค่าที่แตกต่างกัน เราจำเป็นต้องคำนวณ มูลค่าของเงิน ต่อความเคลื่อนไหว ต่อ pip ก่อน ในค่าเงิน ที่ที่ค่าเงินดอลล่าร์อยู่ข้างหน้า จะถูกคิดดังนี้

สมมุติเป็น คู่เงิน USD/JPY มีอัตราแลกเปลี่ยนอยูที่ 119.80
(สังเกตุว่าค่าเงินดังกล่าว จะมีแค่สองจุดทศนิยม ซึ่งค่าเงินส่วนใหญ่จะมีสี่)
ในกรณีของ USD/JPY เคลื่อนไหว 1 จุดจะเท่ากับ .01 ดังนั้น


USD/JPY: 119.80
.01 แบ่งตามอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน = pip value
.01/119.80 = 0.0000834
ซึ่งออกจะยาวไปหน่อย แต่เดี๋ยวเราจะเริ่มคำนวณ ขนาดของ lot กัน


USD/CHF: 1.5250
.0001 แบ่งตามอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน = pip value
.0001 / 1.5250 = 0.0000655


USD/CAD: 1.4890
.0001 แบ่งตามอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน = pip value
.0001 / 1.4890 = 0.00006715


ในกรณีที่ค่าเงินดอลล่าร์อยู่ข้างหลัง การหาค่า จะมีวิธีการเพิ่มขึ้นอีกหน่อย ดังนี้
EUR/USD: 1.2200
.0001 แบ่งตามอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน = pip value
ดังนั้น
.0001 / 1.2200 = EUR 0.00008196
แต่ว่าเราต้องคิดกลับไปเป็นค่าเงินดอลล่าร์อีกทีซึ่งก็คือ EUR x อัตราแลกเปลี่ยน
ดังนั้น
0.00008196 x 1.2200 = 0.00009999
เมื่อเราปัดเศษ ก็จะได้ 0.0001


GBP/USD: 1.7975
.0001 แบ่งตามอัตราแลกเปลี่ยน = pip value
ดังนั้น
.0001 / 1.7975 = GBP 0.0000556
แต่เราต้องกลับไปคิดเป็นค่าเงินดอลล่าร์อีกทีหนึ่งซื่งเท่ากับ GBP x อัตราแลกเปลี่ยน
ดังนั้น
0.0000556 x 1.7975 = 0.0000998
ถ้าเราปัศเศษทศนิยมก็จะได้ 0.0001


บางทีตอนนี้คุณกำลังอาจจะคิดอยู่ก็ได้ว่า ตกลงแล้วเราต้องคิดทั้งหมดทุกคู่ตลอดเลยรึเปล่า คำตอบคือ ไม่ เกือบทุกโบรคเกอร์จะมีรายละเอียดนี้ให้คุณอยู่แล้ว แต่มันก็ดีที่คุณจะรู้ว่ค่าเหล่านี้ามาจากไหน จะบอกว่าเรื่องนี้ มีประโยชน์ยังไง ในบทต่อ ๆ ไป


Lot คืออะไร?

ฟอร์เร็กซ์ จะเทรดเป็น lot ขนาดมาตรฐานของ 1 ลอท คือ 100,000 ยูนิท ซึ่งก็มีบัญชีแบบ มินิลอท เหมือนกัน ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 10,000 ยูนิท และอย่างที่บอกว่า ค่าเงินนั้นคิดเป็น pip เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของค่าเงินนั้น ๆ ในการที่จะทำให้เราได้ประโยชน์จากจุดเล็ก ๆ จุดนี้ คือเราต้องเทรดจำนวนมาก จึงจะเห็น กำไร-ขาดทุน ชัดเจน

เช่น เราใช้ 100,000 ยูนิท (เท่ากับ 1 สแตนดาร์ดลอท) ลองยกมาคำนวณ เพื่อให้เห็นว่ามันส่งผลยังไง

USD/JPY ที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 119.80
(.01/119.80)x100,000 = 8.34 เหรียญต่อจุด
USD/CHF ที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ1.4555
(.0001/1.4555)x100,000 = 6.87 เหรียญ ต่อจุด

ถ้าในกรณีที่เงินดอลล่าร์อยู่ข้างหลัง การคำนวณก็จะแตกต่างกันเล็กน้อย

EUR/USD ที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 1.1930
(.0001/1.1930)x100,000 = 8.38x1.1930 = 9.99734 ถ้าปัดเศษได้ก็จะเท่ากับ 10 เหรียญต่อจุด

GBP/USD ที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 1.8040 (.0001 / 1.8040) x 100,000 = 5.54 x 1.8040 = 9.99416 ถ้าปัดเศษก็จะได้เท่ากับ 10 ต่อจุด.

โบรคเกอร์ของคุณ อาจจะมีวิธีการคิดมูลค่าของ pip ที่แตกต่างกันออกไป แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีการไหน พวกเขา สามารถ บอกได้ว่า ค่าเงินที่คุณกำลังเทรดมูลค่าต่อหนึ่งจุดนั้น เป็นเท่าไหร่ในช่วงที่คุณกำลังเทรด ซึ่งถ้าตลาด มีการเคลื่อนไหว มูลค่าต่อจุดจะขึ้นอยู่กับ ค่าเงินที่คุณกำลังเทรดอยู่


แล้วเราจะคำนวณกำไรขาดทุนได้อย่างไร

ตอนนี้ คุณรู้ว่าจะคำนวณมูลค่าต่อจุดอย่างไร ลองมาดูต่อว่า เราจะคำนวณกำไร-ขาดทุนได้อย่างไร
เช่น เราซื้อดอลล่าร์สหรัฐ และขายสวิสฯฟรังค์ (usd/chf)
สมมุติว่า อัตราแลกเปลี่ยนตอนนี้อยู่ที่ 1.4525/1.4530 (bid/Offer) เพราะว่าคุณกำลังซื้อเงินดอลล่าร์คุณจะได้ราคาที่ 1.4530
ถ้าซื้อที่ 1 สแตนดาร์ด ลอท (100,000 ยูนิท) ที่ราคา 1.4530. ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ราคาเคลื่อนไหวขึ้นไปที่ 1.4550 และคุณตัดสินใจที่จะปิดออร์เดอร์
อัตราแลกเปลี่ยนตอนนี้จะเท่ากับ 1.4550/1.4555 หลังจากที่ปิดออร์เดอร์ เรากลับไปดูตั้งแต่ที่ ซื้อจนปล่อยขาย เพื่อปิดออร์เดอร์ คุณจะได้ราคาที่ 1.4550 ซึ่งเป็นราคาที่เราปิดได้

ความแตกต่างของ 1.4530 กับ 1.4550 คือ .0020 หรือเท่ากับ 20 pip

เราใช้สูตรก่อนหน้านี้ เราก็จะได้ (.0001/1.4550) x 100,000 1= 6.87 ต่อจุด x ด้วย 20 จุด ซึ่งจะได้กำไรทั้งหมด 137.40 เหรียญ
จำไว้ว่า เมื่อคุณเข้าหรือออก จากการเทรด คุณจะต้องจ่ายค่า spread เหล่านั้นด้วย ซึ่งก็คือส่วนต่างระหว่าง Bid/Offer ดังกล่าว

เมื่อ Buy ค่าเงินค่าเงินหนึ่ง คุณจะต้องเสนอ(offer)ราคา และเมื่อ Sell คุณก็ต้องตั้ง(Bid)ราคา
** ดังนั้นเมื่อ Buy ค่าเงิน คุณจะต้องจ่าย spread เมื่อเข้าเทรด แต่ไม่ต้องจ่ายเมื่อปิดออร์เดอร์
** และเมื่อ Sell ค่าเงิน คุณไม่ต้องจ่าย spread ตอนเข้าเทรด แต่คุณจะต้องจ่ายเมื่อคุณปิดออร์เดอร์


leverage คืออะไร?

คุณอาจจะเคยคิดว่า นักลงทุนเล็ก ๆ อย่างคุณ จะสามารถเทรดค่าเงินมากมายขนาดนั้นได้อย่างไร ลองคิดเปรียบว่า โบรคเกอร์ ก็คือธนาคาร ซึ่งเขาอยากให้คุณซื้อค่าเงินมูลค่า 100,000 เหรียญ โดยที่เขาต้องการเงินจากคุณเพียง แค่ 1,000 เหรียญ เพื่อค้ำประกัน ฟังดูง่ายเกินไปในโลกของความจริงใช่ไหม? แต่ว่า นี่แหละคือฟอร์เร็กซ์ และ นี่ก็คือ Leverage ที่เราใช้

จำนวน leverage ที่คุณใช้ ขึ้นอยู่กับโบรคเกอร์ และขึ้นอยู่กับตัวคุณว่า ต้องการใช้เท่าไหร่

โบรคเกอร์จะให้คุณฝากเงินเข้า ที่เราเรียกกันว่า margin หรือ initial margin เมื่อฝากเงินเข้าบัญชี คุณจะสามารถ เทรดได้ทันที และโบรกเกอร์ก็จะบอกว่า คุณต้องใช้เงินเท่าไหร่ ในการเทรดจำนวน ลอทนั้น ๆ

เช่น ถ้า leverage ที่เราใช้เท่ากับ 100:1 (หรือ 1 เปอร์เซ็นต์ ของ position ต้องใช้) และคุณต้องการเทรดมูลค่า 100,000 เหรียญ โบรคเกอร์จะเรียกมาร์จิ้น 1,000 เหรียญ ดังนั้นถ้ามีเงิน 5,000 เหรียญ จะเทรดได้มากสุดถึง 500,000 เหรียญ

มาร์จิ้นอย่างต่ำต่อลอท จะแตกต่างกันออกไป ตามแต่ละโบรคเกอร์ จากตัวอย่างข้างบน โบรกเกอร์จะต้องใช้ มาร์จิ้น 1% ซึ่งหมายความว่า ออร์เดอร์มูลค่า 100,000 ซึ่งคุณจะต้องฝากเงินเข้าไป 1,000 เหรียญ เพื่อที่จะฝาก เป็นมาร์จิ้น นั่นเอง


Margin Call คืออะไร?

ในเหตุการณ์ที่เงินในบัญชีของคุณลดลง จนเหลือน้อยกว่า มาร์จิ้นขั้นต่ำ (มาร์จิ้นที่คุณต้องใช้ในการถือ position) โบรคเกอร์จะทยอยปิด ออร์เดอร์ที่คุณเปิดอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้บัญชีคุณขาดทุนจนติดลบ โดยเฉพาะ เวลาที่ตลาด มีความผันผวนสูง คือราคามีการเคลื่อนไหวกว้าง

ตัวอย่างที่ 1
คุณเปิดบัญชีฟอร์เร็กซ์ ด้วยเงิน 2,000 เหรียญ(ไม่ใช่ความคิดที่ดี) คุณเปิดบัญชี 1 สแตนดาร์ด ลอท( 100,000 unit) ของค่าเงิน EUR/USD ซึ่งต้องใช้มาร์จิ้น 1,000 เหรียญ มาร์จิ้นที่เหลืออยู่ คุณสามารถเปิดออร์เดอร์เพิ่ม หรือ สามารถ รองรับการขาดทุนของออร์เดอร์ที่เปิดอยู่ ตั้งแต่แรกที่เปิดบัญชี 2,000 เหรียญ คุณมีมาร์จิ้น ที่สามารถ ใช้เทรดได้ 2,000 เหรียญ แต่เมื่อเทรด 1 สแตนดาร์ดลอท ซึ่งจะใช้มาร์จิ้น 1,000 เหรียญ และมาร์จิ้นที่จะเหลืออยู่ คือ 1,000 ถ้าคุณเสียมากกว่ามาร์จิ้นที่เหลืออยู่ คือ 1,000 เหรียญ คุณจะโดน margin call

ตัวอย่างที่ 2
คุณเปิดบัญชี ด้วยเงิน 10,000 เหรียญ แล้วเปิดบัญชี 1 สแตนดาร์ดลอท ของค่าเงิน EUR/USD จะต้องใช้ margin 1,000 เหรียญ มาร์จิ้นที่เหลือเป็นเงินที่สามารถใช้ในการเปิดออร์เดอร์ หรือ เอาไว้รองรับการขาดทุนจากออร์เดอร์ ที่เปิดอยู่ ดังนั้ถ้าเปิดที่ 1 standard lot ด้วยมาร์จิ้น 10,000 เหรียญ หลังจากเปิดออร์เดอร์ จะมีมาร์จิ้นเหลืออยู่ 9,000 เหรียญ เพราะ 1,000 เป็นมาร์จิ้นที่ถูกใช้ไปแล้ว ถ้าคุณเสียมากกว่ามาร์จิ้นที่เหลือ 9,000 เหรียญ คุณก็จะถูก margin call ต้องทำความเข้าใจกับความแตกต่างของ


มาร์จิ้นที่ถูกใช้ไป (used margin) กับ มาร์จิ้นที่เหลืออยู่ (usable margin) คืออะไร
ถ้ามูลค่ารวมของบัญชีคุณ มีน้อยกว่า มาร์จิ้นที่เหลือ เนื่องมาจากผลขาดทุนของการเทรด คุณจะต้องฝากเงินเพิ่ม หรือ ไม่เช่นนั้นโบรคเกอร์จะปิดออร์เดอร์ของคุณ เพื่อจำกัดความเสี่ยงของคุณ และความเสี่ยงของโบรคเกอร์เอง เพื่อไม่ให้ คุณเสียมากกว่าที่คุณเทรด

ถ้าเทรดโดยใช้บัญชีแบบมาร์จิ้น (ยืมเงินโบรคเกอร์เล่น แบบตลาดหุ้น) มันสำคัญมากที่จะต้องเข้าใจนโยบาย เกี่ยวกับ บัญชีมาร์จิ้นให้ละเอียด

ควรจะรู้ว่าโบรคเกอร์ส่วนใหญ่ จะเรียกมาร์จิ้นเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ครั้งแรกพวกเขาอาจจะให้ใช้มาร์จิ้นที่ 1 % ช่วงกลางสัปดาห์ ถ้าคุณถือ position ข้ามสัปดาห์ อาจจะต้องใช้มาร์จิ้นเพิ่มขึ้นจาก 1 % เป็น 2% หรืออาจจะ สูงกว่านั้น

เรื่องของมาร์จิ้น เป็นเรื่องที่น่ารำคาญใจ และบางคนบอกว่า การใช้มาร์จิ้นเยอะเกินไปเป็นเรื่องอันตราย ขึ้นอยู่กับ ความเข้าใจของแต่ละบุคคล แต่สิ่งสำคัญที่ควรรู้คือ คุณควรจะเข้าใจเงื่อนไข หรือนโยบายเกี่ยวกับมาร์จิ้น ของ โบรคเกอร์ จะได้เข้าใจถึงความเสี่ยงที่มีอยู่ด้วยนั่นเอง

บางโบรคเกอร์ได้อธิบายเกี่ยวกับการใช้ leverage ในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์มาร์จิ้น โดยใช้หลักการธรรมดา ๆ ระหว่าง 2 แบบ คือ

Leverage = 100 / เปอร์เซ็นต์มาร์จิ้น
เปอร์เซ็นต์มาร์จิ้น = 100 / Leverage
Leverage ส่วนใหญ่จะแสดงอยู่ในรูปแบบอัตราส่วน เช่น 100 :1 หรือ 200 : 1

สมัคร AGEA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น